เผยโฉม "ลูกพญาแร้ง" ตัวแรกของเอเชีย ที่เกิดในไทย หลังรอมากว่า 30 ปี

คอมเมนต์:

ไทยเป็นประเทศแรกในเอเชีย และยังเป็นประเทศที่สองที่สามารถเพาะขยายพันธุ์พญาแร้งได้ในสถานที่เลี้ยง โดยมีประเทศอิตาลีเป็นประเทศแรก คนไทยเก่งไม่แพ้ชาติใดในโลกจริง ๆ ค่ะ

    นับว่าเป็นความสำเร็จครั้งแรกของประเทศไทย เมื่อองค์การสวนสัตว์แห่งประเทศไทยจับมือกับสวนสัตว์นครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา เปิดตัว"ลูกพญาแร้ง" เพศเมีย ตัวแรกของไทยและถือเป็นตัวที่ 2 ของโลก ซึ่งเกิดจากแม่ชื่อว่า "นุ้ย" และพ่อชื่อ "แจ็ค" หลังรอมากว่า 30 ปี

    โดยรายงานเปิดเผยว่า แม่พญาแร้ง ได้ออกไข่ใบแรกเมื่อวันที่ 17 มกราคม 2566 ที่ผ่านมา และทางเจ้าหน้าที่ของสวนสัตว์ฯ ได้นำเข้าตู้ฟัก เมื่อวันที่ 25 มกราคม 2566 ซึ่งธรรมชาติของพญาแร้ง จะออกไข่ครั้งละ 1 ฟองเท่านั้นต่อฤดูผสมพันธุ์ 

 

Sponsored Ad

 

    การเปิดตัว "ลูกพญาแร้ง" ในครั้งนี้นับว่าเป็นความประสบความสำเร็จในการเพาะขยายพันธุ์ "ลูกพญาแร้ง" เนื่องจากฝูงสุดท้ายที่เคยมีในเมืองไทยในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง จ.อุทัยธานี ถูกวางยาเบื่อและสูญพันธุ์จากธรรมชาติเมื่อ 30 ปี ขณะที่ไทยมีพญาแร้งในกรงเลี้ยงเพียง 6 ตัวอยู่ในความดูแลของสวนสัตว์โคราช จ.นครราชสีมา

 

Sponsored Ad

 

    ซึ่งทางสวนสัตว์โคราชได้พยายามเพาะขยายพันธุ์พญาแร้งมากว่า 20 ปี หลังจากพ่อแม่พญาแร้งคู่แรกในสวนสัตว์นครราชสีมา เริ่มออกไข่ใบแรกเมื่อปี 2563 แต่ยังไม่ประสบความสำร็จ เนื่องจากไข่ไม่มีเชื้อ

    จนกระทั่งจับคู่ผสมพันธุ์พ่อแม่พญาแร้งชื่อ นุ้ยและแจ็ค อีกครั้ง โดยแม่นุ้ยออกไข่มา 2 ฟองเมื่อวันที่ 17 ม.ค.ที่ผ่านมา จึงนำไข่ 1 ฟองเข้าตู้ฟัก เมื่อวันที่ 25 ม.ค.และอีก 1 ฟองให้แม่นุ้ยเป็นผู้ฟักเองตามธรรมชาติ 

 

Sponsored Ad

 

    โดยลูกพญาแร้งตัวแรกเป็นตัวเมีย ฟักออกมาเป็นตัว เมื่อวันที่ 8 มี.ค.ที่ผ่านมา ซึ่งใช้วลาการฟักในตู้ฟักประมาณ 50 วัน ท่ามกลางความดีใจของทีมเจ้าหน้าที่ที่ฟูมฟักมาตลอด ตอนนี้ลูกนกอายุ 1 เดือน ซึ่งประเทศไทยเป็นประเทศแรกในเอเชียที่สามารถเพาะพันธุ์พญาแร้งได้ในสถานที่เลี้ยง และยังเป็นประเทศที่สองของโลก โดยประเทศแรกที่สามารถเพาะพันธุ์พญาแร้งในสถานที่เลี้ยงได้คือ ประเทศอิตาลี

.

ที่มา : มูลนิธิสืบนาคะเสถียร

บทความแนะนำ More +

บทความที่คุณอาจสนใจ