เผยโฉม "เจ้าจอมแส" บุตรตรีเจ้าพระยา เป็นเจ้าจอมคนสุดท้ายใน "รัชกาลที่ 5"

คอมเมนต์:

เผยโฉม "เจ้าจอมแส" บุตรตรีเจ้าพระยา เป็นเจ้าจอมคนสุดท้ายใน "รัชกาลที่ 5"

        ล่าสุด ได้มีการเผยโฉม เจ้าจอมแส เจ้าจอมคนสุดท้ายในรัชกาลที่ 5 ลงสื่อโซเชียล พร้อมเผยประวัติคร่าวๆ ให้ชาวไทยได้รับรู้...

        โดยทางผู้ใช้ไอจี t_2539 ได้เผยว่า เจ้าจอมคุณสุดท้ายในรัชกาลที่๕ เจ้าจอมแส เป็นบาทบริจาริกาในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เกิดที่จังหวัดเพชรบุรี เป็นธิดาของเจ้าพระยาสุรพันธ์พิสุทธิ์ (เทศ บุนนาค) สมุหเทศาภิบาลมณฑลราชบุรี ที่เกิดแต่หม่อมทรัพย์ ชาวลาวโซ่ง ต่อมาได้เข้ามาพำนักในพระราชวังดุสิตกับเจ้าจอมเอิบ ในรัชกาลที่ 5 ผู้เป็นพี่สาวต่างมารดา หนึ่งในเจ้าจอมก๊กออ  ในหนังสือ "เจ้าจอมก๊กออ"  ดร. กัณฑาทิพย์  สิงหะเนติ  เล่าเรื่องเจ้าจอมแส  ในหน้า ๓๔๙  ไว้ว่า "เจ้าจอมแสได้มาอยู่กับเจ้าจอมเอิบที่สวนพุดตาลตั้งแต่ยังสาวรุ่น

 

Sponsored Ad

 

เจ้าจอมแส

        ผู้เฒ่าผู้แก่เล่าให้ผู้เขียนฟังถึงสาเหตุที่เจ้าจอมแสจะได้เป็นเจ้าจอมว่า วันหนึ่งเจ้าจอมแสนั่งอาบนำ้อยู่ในคลองหน้าตำหนักของเจ้าจอมเอิบ  สมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงเสด็จผ่านมาเห็นเจ้าจอมแสนั่งสระผมอยู่ก็แอบทอดพระเนตร

 

Sponsored Ad

 

        เมื่อสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงเสด็จเข้าข้างในตำหนักได้ทรงขอเจ้าจอมแสจากเจ้าจอมเอิบ ภายหลังจากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 23 ตุลาคม เจ้าจอมแสจึงได้ย้ายออกมาพำนักอยู่นอกพระราชวังดุสิต กระทั่งถึงแก่อนิจกรรมเมื่อวันที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2521 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร โดยเป็นหนึ่งในเจ้าจอมที่อายุยืนยาว

จากโพสต์ต้นฉบับ

 

Sponsored Ad

 

View this post on Instagram

เจ้าจอมคุณสุดท้ายในรัชกาลที่๕ เจ้าจอมแส เป็นบาทบริจาริกาในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เกิดที่จังหวัดเพชรบุรี เป็นธิดาของเจ้าพระยาสุรพันธ์พิสุทธิ์ (เทศ บุนนาค) สมุหเทศาภิบาลมณฑลราชบุรี ที่เกิดแต่หม่อมทรัพย์ ชาวลาวโซ่ง ต่อมาได้เข้ามาพำนักในพระราชวังดุสิตกับเจ้าจอมเอิบ ในรัชกาลที่ 5 ผู้เป็นพี่สาวต่างมารดา หนึ่งในเจ้าจอมก๊กออ  ในหนังสือ "เจ้าจอมก๊กออ"  ดร. กัณฑาทิพย์  สิงหะเนติ  เล่าเรื่องเจ้าจอมแส  ในหน้า ๓๔๙  ไว้ว่า "เจ้าจอมแสได้มาอยู่กับเจ้าจอมเอิบที่สวนพุดตาลตั้งแต่ยังสาวรุ่น  ผู้เฒ่าผู้แก่เล่าให้ผู้เขียนฟังถึงสาเหตุที่เจ้าจอมแสจะได้เป็นเจ้าจอมว่า วันหนึ่งเจ้าจอมแสนั่งอาบนำ้อยู่ในคลองหน้าตำหนักของเจ้าจอมเอิบ  สมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงเสด็จผ่านมาเห็นเจ้าจอมแสนั่งสระผมอยู่ก็แอบทอดพระเนตร เมื่อสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงเสด็จเข้าข้างในตำหนักได้ทรงขอเจ้าจอมแสจากเจ้าจอมเอิบ" ภายหลังจากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 23 ตุลาคม เจ้าจอมแสจึงได้ย้ายออกมาพำนักอยู่นอกพระราชวังดุสิต กระทั่งถึงแก่อนิจกรรมเมื่อวันที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2521 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร โดยเป็นหนึ่งในเจ้าจอมที่อายุยืนยาว ภาพเก่า เจ้าจอมแส บุนนาค กระเดียดกระจาดขนม เครดิตภาพคุณดิษพงศ์ เครดิตเนื้อหาวิกิพีเดีย #เกร็ดประวัติศาสตร์

 

Sponsored Ad

 

A post shared by แทน (@t_2539) on

        ข้อมูลเพิ่มเติม จาก เว็บไซต์ campus-star ได้ระบุเอาไว้ว่า ...

        เจ้าจอมสดับ หรือ เจ้าจอมหม่อมราชวงศ์สดับ ลดาวัลย์ (Chao Chom Mom Ratchawong Sadap Ladawan) เป็นเจ้าจอมคนรองสุดท้าย ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (เจ้าจอมคนสุดท้ายคือ เจ้าจอมแส บุนนาค) นอกจากนั้นท่านยังเป็นคนสุดท้ายที่ได้ร้องเพลง “นางร้องไห้” และเป็นเจ้าจอมคนสุดท้ายของราชวงศ์จักรี ที่ยังดำรงชีพและถึงแก่อนิจกรรมในรัชกาลที่ 9 โดยท่านถึงแก่อนิจกรรม เมื่อวันที่ 3 มิถุนายน 2526 อายุรวม 93 ปี

 

Sponsored Ad

 

สนมเอก – เจ้าจอมคนรองสุดท้าย ร.5

ในวัยเยาว์ เข้าวัง

        เมื่อท่านมีอายุได้ 11 ปี หม่อมยายได้พาท่านไปถวายตัวเป็นข้าหลวง ในตำหนักพระวิมาดาเธอ กรมพระสุทธาสินีนาฏ ปิยมหาราชปดิวรัดา ซึ่งพระองค์ได้ทรงอบรมเลี้ยงดูหม่อมราชวงศ์สดับในฐานะพระญาติ และยังโปรดให้เรียนหนังสือทั้งภาษาไทย ภาษาอังกฤษ รวมทั้งหัดงานฝีมือ ตลอดจนการอาหารคาวหวานจนเชี่ยวชาญ นอกจากความอัจฉริยภาพและความงามแล้ว ความมีเสียงอันไพเราะของท่าน ยังเป็นคุณสมบัติที่โดดเด่นด้วย ดังใน บทพระราชนิพนธ์เงาะป่า ว่า

 

Sponsored Ad

 

        “แม่เสียงเพราะเอย น้ำเสียงเจ้าเสนาะ เหมือนดังใจพี่จะขาด เจ้าร้องลำนำ ยิ่งซ้ำพิสวาท พี่ไม่วายหมายมาด รักเจ้าเสียงเพราะเอย”

        ภาพซ้าย : ถ่ายเมื่อวันเชิญดอกไม้ธูปเทียนแพขึ้นถวายตัว เป็นข้าใต้เบื้องพระยุคลบาท เมื่อปลายปี พ.ศ. 2449

Sponsored Ad

        ภาพขวา : เจ้าจอมหม่อมราชวงศ์สดับ ในรัชกาลที่ 5 โปรดเกล้าฯ ให้แต่งเครื่องเพชรชุดหนึ่ง ที่พระราชทาน แล้วให้ช่างถ่ายรูปไว้ เมื่อ พ.ศ. 2450

ถวายตัวเป็นเจ้าจอม ตอนท่านอายุ 16 ปี

        เมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2449 หม่อมราชวงศ์สดับได้เข้าปฏิบัติหน้าที่เป็นเจ้าจอม ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ร.5) ซึ่งวันนี้ท่านได้รับพระราชทาน “กำไลมาศ” จาก ร.5 ซึ่งเป็นกำไลทองคำแท้จากบางสะพาน หนักสี่บาท ทำเป็นรูปตาปูโบราณสองดอกไขว้กัน ปลายตาปูเป็นดอกเดียวกัน

        ครั้นเมื่อท่านมีอายุได้ 20 ปี พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จสวรรคต ท่านมีความทุกข์ และเศร้าโศกอย่างยิ่ง ท่านได้กล่าวไว้ว่า

        “..ใจคิดจะเสียสละได้ทุกอย่าง จะอวัยวะหรือเลือดเนื้อ หรือชีวิตถ้าเสด็จกลับคืนมาได้ ข้าพเจ้าคิดว่าเป็นใจที่คิดแน่วแน่ว่าตายแทนได้ไม่ใช่แค่พูดเพราะๆ …คุณจอมเชื้อเอาผ้าเช็ดหน้าผืนหนึ่งมาให้ข้าพเจ้า บอกว่าท่านได้ประทานไว้ซับพระบาท ข้าพเจ้าจึงเอาผ้าที่ซับพระบาทนั้นแล้วพันมวยผมไว้ แล้วก็นั่งร้องไห้กันต่อไปอีก…”

        ครั้งสุดท้ายที่เจ้าจอมสดับได้มีโอกาสสนองพระเดชพระคุณ ร.5 คือ การเป็นต้นเสียงนางร้องไห้หน้าพระบรมศพ

        ภาพซ้าย : พระราชทานเกียรติให้นั่งพระเก้าอี้ทองตราแผ่นดิน ซึ่งเป็นพระเก้าอี้สำหรับพระมเหสีเทวี และพระบรมราชวงศ์ชั้นเจ้าฟ้า ประทับเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทในการพระราชพิธี (ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้ถ่ายเมื่อ พ.ศ. 2450)

        ภาพขวา : เจ้าจอม ม.ร.ว.สดับ ถ่ายไว้เมื่ออายุ 17 ปีบริบูรณ์


กำไลมาศ (กำไลทอง)

        กำไลมาศของเจ้าจอมสดับ เป็นวัตถุพยานแห่งความรัก ความเมตตา อย่างหาที่สุดมิได้ของพระมหากษัตริย์ที่มีต่อสตรีสามัญ

        กำไลนี้ นอกจากเป็นของพระราชทาน และมีบทกลอนพระราชนิพนธ์บนกำไลแล้ว ยังมีความพิเศษอีกก็คือ ตัวกำไลทองนั้น ถ้ามองตรงๆ เป็นอักษร S (มาจากชื่อย่อของเจ้าจอมสดับ) หากพลิกข้อมือเพียงเล็กน้อยมองอีกด้านจะกลับเป็นตัวอักษร c (จุฬาลงกรณ์)

        หลังจาก ร.5 เสด็จสวรรคตได้ไม่นาน เจ้าจอมสดับท่านได้ถวายคืนเครื่องเพชรทั้งหลาย เหลือแต่เพียงกำไลมาศ ซึ่งเจ้าจอมสดับได้สวมติดข้อมือ ตั้งแต่วันแรกที่ ร.5 ท่านทรงสวมให้ด้วยพระองค์เอง สวมไว้จนกระทั่งถึงวันอนิจกรรมเป็นเวลา 77 ปี โดยทายาทได้ถวายกำไลมาศ แด่พระบาทสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ พระองค์จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ให้เก็บไว้ที่พระที่นั่งวิมานเมฆ ณ สถานที่คุณจอมสดับได้เคยถวายการรับใช้เบื้องพระยุคลบาท

        ในหลวงรัชกาลที่ 9 พระราชทานกระแสพระราชดำรัสปราศรัย กับเจ้าจอมหม่อมราชวงศ์สดับ ในวันเสด็จพระราชดำเนินถวายผ้าพระกฐิน ณ วัดราชโอรสาราม เมื่อวันที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2516

        เข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ (ฝ่ายใน) ณ พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2521

ความหมายในอักษรย่อ

        S คือ สดับ
        B คือ ภูมินทรภัคดี
        C คือ จุฬาลงกรณ์

ต้นตำรับต่างๆ

เจ้าจอม ม.ร.ว. สดับ เจ้าของตำรับน้ำพริกลงเรือ

ต้นตำรับ ยาดมส้มโอมือ

ยาดมส้มโอมือตำรับเจ้าจอม มรว.สดับ ในรัชกาลที่ 5

ข้อมูลและภาพ จาก t_2539

บทความแนะนำ More +