หมอไทยจัดตั้งโครงการ "หน้ากากกั้นความอาย" ให้คนที่มาหาหมอได้ใส่ เพื่อปกปิดตัวตน

คอมเมนต์:

หมอไทยจัดตั้งโครงการ "หน้ากากกั้นความอาย" ให้คนที่มาหาหมอได้ใส่ เพื่อปกปิดตัวตน

หมายเหตุ : สามารถรับชมคลิปเต็มได้ที่ด้านล่างบทความค่ะ 

    ผู้หญิงหลายคนเวลาจะไปตรวจภายในคงรู้สึกเขินอายหมอกันใช่ไหม? แต่โครงการนี้จะทำให้คุณไม่อายอีกต่อไป เมื่อคุณหมอคิดไอเดียเจ๋งให้คนไข้สวม “หน้ากากสีเขียว” นั่งรอตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก อาจเป็นภาพที่ดูแปลกตา แต่แท้จริงแล้ว เป็นส่วนหนึ่งของโครงการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ที่ อบต.สระแก้ว อ.เมือง จ.กำแพงเพชร ท้องถิ่นเล็กๆ จัดขึ้น

 

    นายสุวรรรณ ศุภกิจเจริญ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลสระแก้ว อ.เมือง จ.กำแพงเพชร เปิดเผยว่า ที่ผ่านมาการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก มะเร็งเต้านม ซึ่ง อบต.มีโครงการให้ผู้หญิงอายุ 30 ปี ขึ้นไป เข้ารับการตรวจทุกปี ไม่ได้รับการตอบรับเท่าที่ควร จากที่ตั้งเป้าหมายการตรวจไว้ที่ 200 คนในแต่ละปี มีผู้เข้ารับการตรวจเพียงปีละราว 20 คน เท่านั้นในช่วง 4-5 ปี ที่ผ่านมา ซึ่งเหตุผลจะเป็นอะไรไปไม่ได้นอกจาก เพราะพวกเธอ "อาย จึงไม่กล้ามาตรวจ"

 

Sponsored Ad

 

 

    "ผมเลยคิดเชิญ ผอ.โรงพยาบาลสุขภาพตำบล 2 แห่ง มาคุยกันว่าทำอย่างไร เลยเสนอให้เอาอย่างนี้ไหม ปิดหน้า เวลามาตรวจ"

 

 

Sponsored Ad

 

    เมื่อได้แนวคิด ทั้ง อบต.และ รพ.ส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองกรด จึงระดมสมอง และคลอดออกมาเป็นกิจกรรมที่ชื่อว่า  “The Mask Pap Smear  หน้ากากแปปสเมียร์” คนไข้ไม่เห็นหน้าหมอ หมอไม่เห็นหน้าคนไข้

 

    "คุยกันว่าหน้ากากนักร้องฮ็อตมากในเวลานั้น เลยเอามาตั้งชื่อโครงการ" นางพรทิพย์ พงษสังข์ นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ ผอ.โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองกรด ต.สระแก้ว อ.เมือง จ.กำแพงเพชร เปิดเผยว่า การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ที่ดูเหมือนเป็นของแสลงของหญิงไทย ใช้จิตวิทยาง่ายๆ เพียงคนไข้มองไม่เห็นหน้าหมอ หมอก็ไม่เห็นหน้าคนไข้ คำว่า "ไม่เห็น" คำเดียวเท่านั้น ก็เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมด้านสุขภาพของผู้รับการตรวจได้

 

Sponsored Ad

 

 

    ในแง่ของการผลตอบรับ เพียงวันเดียวมีผู้หญิงมาร่วมโครงการตรวจถึง 49 คน มากกว่าตัวเลขของผู้หญิงที่มารับการตรวจตลอดทั้งปีเสียอีก

 

Sponsored Ad

 

    "เราไม่ได้รณรงค์อะไรเยอะ เพียงแต่ให้ชาวบ้านมาดู แค่ทำยังไงให้ออกจากบ้านมาตรวจให้ได้ ส่วนชาวบ้านก็ดีใจ ก็มีขำตัวเองบ้าง ส่วนเราก็ต้องใส่หน้ากากเปิดโครงการนี้เหมือนกัน" นายสุวรรณ บอกกับบีบีซีไทย

     นางพรทิพย์ ให้ข้อมูลว่า การตรวจแปปสเมียร์ เป็นการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกในระยะเริ่มแรก แพทย์จะเก็บตัวอย่างเซลล์เยื่อบุมดลูกส่งให้ห้องทดลองทางการแพทย์ ของโรงพยาบาลจังหวัด วินิจฉัยว่ามีความผิดปกติที่อาจนำไปสู่การเกิดโรคมะเร็งหรือไม่ ซึ่งจะเพิ่มโอกาสในการรักษาได้

 

Sponsored Ad

 

 

    ข้อมูลจากบทความที่เผยแพร่บนเว็บไซต์สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ระบุว่า มะเร็งปากมดลูก เป็นมะเร็งที่พบมากเป็นอันดับ 2 รองจากมะเร็งเต้านม ในประชากรหญิงไทย แต่ละปีพบผู้ป่วยประมาณ 10,000 คน และเสียชีวิตถึง 5,000 คนต่อปี พบได้ตั้งแต่ผู้หญิงอายุก่อน 30 ปี จนถึงอายุ 80 ปี และพบมากในช่วงอายุ 35-50 ปี

 

 

Sponsored Ad

 

    ปัจจุบันแม้ว่าจะมีวัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก (HPV) แล้ว แต่การตรวจคัดกรองยังเป็นสิ่งที่จำเป็น เนื่องจากวัคซีนไม่สามารถป้องกันการติดเชื้อได้อย่างสมบูรณ์

 

ชมคลิป 

คลิปเปิดไม่ออก >>>>> กดตรงนี้ คลิ๊ก !!!! <<<<<

 

ที่มา: ezp9,bbc.

บทความที่คุณอาจสนใจ