นักวิทย์พบ "ซากลูกช้างแมมมอธ" ที่สมบูรณ์ที่สุด แม้ถูกแช่แข็งมานาน กว่า 30,000 ปี

คอมเมนต์:

เป็นครั้งแรกที่เจอซากแมมมอธเกือบสมบูรณ์ที่สุด

    เป็นข่าวที่เรียกเสียงฮือฮาเป็นอย่างมาก เมื่อสื่อต่างประเทศรายงาน คนงานขุดทองชนพื้นเมือง (Tr’ondek Hwech’in First Nation) ในแคนาดา ขุดพบ "ซากลูกช้างแมมมอธ" ขณะขุดหาทองคำที่เหมืองคลอนไดก์ในเมืองดอว์สันซิตี ดินแดนยูคอน ทางตะวันตกสุดของประเทศ ซึ่งเป็นดินแดนอันหนาวเย็นของแคนาดา

    คนงานขุดทองเผยว่า ขณะที่กำลังขุดหาทองคำ รถตักดินบังเอิญไปกระทบเข้ากับวัตถุบางอย่างในโคลน ก่อนจะพบว่ามันคือ "ซากลูกช้างแมมมอธ" ทีมนักวิทยาศาสตร์เดินทางมาตรวจสอบก็ถึงกับตกตะลึง เมื่อพบว่าซากลูกช้างแมมมอธอยู่ในสภาพเกือบสมบูรณ์ ราวกับว่ามันยังมีชีวิตอยู่ทั้งหนังและขน

 

Sponsored Ad

 

    นายแกรนต์ ซาซูลา นักบรรพชีวินวิทยา กล่าวว่า "มันสวยงามมากและเป็นหนึ่งในซากสัตว์จากยุคน้ำแข็งที่น่าเหลือเชื่อที่สุดที่เคยมีการค้นพบบนโลก" 

    ซากลูกช้างแมมมอธตัวนี้ถูกตั้งชื่อว่า "นันโชกา" (Nun cho ga) เป็นภาษาถิ่นมีความหมายว่าลูกสัตว์ตัวใหญ่ มีขนาดความยาวลำตัวอยู่ที่ราวๆ 140 ซม. โดยมันถูกค้นพบในแช่แข็งไว้ในชั้นดินเยือกแข็งคงตัวเป็นเวลานานกว่า 30,000 ปี และคาดว่ามีอายุในตอนเสียชีวิตราว ๆ 1 เดือนเท่านั้น

 

Sponsored Ad

 

    โดยการค้นพบในครั้งนี้เป็นครั้งแรกที่เจอซากแมมมอธเกือบสมบูรณ์ในดินแดนทวีปอเมริกาเหนือ โดยก่อนหน้านี้มีการค้นพบซาลูกช้างแมมมอธครึ่งตัวซึ่งต่อมาถูกตั้งชื่อให้ว่า "เอฟฟี่" (Effie) ที่เหมืองทองคำในรัฐอะแลสกา ของสหรัฐอเมริกา เมื่อปี 2491 หรือกว่า 74 ปีที่แล้ว

▲ซากลูกช้างแมมมอธ "ลิวบา" (Lyuba)

    นอกจากนี้ทางการท้องถิ่นของดินแดนยูคอน เปิดเผยว่า ซากลูกช้างแมมมอธ "นันโชกา" นี้มีขนาดใกล้เคียงกับซากลูกช้างแมมมอธ "ลิวบา" (Lyuba) อายุราว 42,000 ปีที่พบในภูมิภาคไซบีเรีย ของรัสเซีย เมื่อปี 2550

ที่มา : AFP News Agencyglobalnewsbbc

บทความแนะนำ More +

บทความที่คุณอาจสนใจ