รามกันด์มูล ขนมจากพืชที่ชาวอินเดียไม่ขอบอก จนนักวิทย์ฯ ถึงกับงุนงงตามหามาหลายปี

คอมเมนต์:

นับถือใจพ่อค้าจริงๆ เก็บเงียบ ขนาดนักวิทยาศาสตร์ยังหาไม่เจอมันคืออะไร

    บนโลกใบนี้มีอาหารของกินหลายอย่างที่เราอาจไม่เคยเห็น หรือไม่เคยได้ยินมาก่อน วันนี้แอดมินจะพาไปดู ของกินสุดแปลกของประเทศอินเดียกัน อย่างที่เรารู้กันว่าประเทศนี้มีขนมวางขายแบบสตรีทฟูดอยู่มากมาย แต่หนึ่งในขนมที่แปลกประหลาดและชวนสะดุดตาที่สุดนั่นก็คือ “รามกันด์มูล” 

    เมื่อย้อนกลับไปในช่วงทศวรรษ 1980 นักพฤกศาสตร์ชาวอินเดียเริ่มให้ความสนใจกับรามกันด์มูล เนื่องจากมันเป็นขนมที่ถูกเฉือนออกมาเป็นแผ่นบางๆ จากแท่งที่คล้ายกับลำต้นสีส้มขนาดใหญ่ หลังจากพยายามตามหาต้นกำเนิดที่แท้จริงของมัน พวกเขาก็ต้องล้มเหลวเนื่องจากไม่มีใครเต็มใจจะเปิดเผยที่มาของมันแม้แต่คนเดียว

 

Sponsored Ad

 

   ามกันด์มูล นั้นถูกขายตามท้องถนนในประเทศอินเดียมานานหลายทศวรรษแล้ว แต่มันกลับเป็นปริศนาสำหรับนักวิทยาศาสตร์ เนื่องจากไม่มีใครทราบว่ามันมาจากต้นอะไรกันแน่

 

Sponsored Ad

 

    ทั้งนี้ จากการสืบค้นตามหาที่มาของเจ้า รามกันด์มูล พ่อค้าหลายคนที่ขายรามกันด์ต่างให้ข้อมูลที่ขัดแย้งกัน บางคนอ้างว่าเป็นหัว ราก หรือไม่ก็ลำต้นของพืช ในขณะที่พ่อค้าส่วนใหญ่ปฏิเสธที่จะตอบคำถามนี้ บางคนก็อ้างไปว่าซื้อต่อมาจากพ่อค้าคนกลางโดยไม่ทราบแห่งที่มาจริง ๆ ของมัน และนั่นทำให้ไม่มีใครรู้ว่าที่มาของมันคือต้นอะไร หรือผ่านกระบวนการผลิตมาจากโรงงานไหนกันแน่

    พ่อค้าหลายคนยังบอกกับสื่ออีกว่า “คุณจะถามอะไรก็ได้ ยกเว้นเรื่องนี้ได้โปรด จะไม่มีใครบอกอะไรคุณ เพราะมันคือความลับทางธุรกิจ” ทั้งนี้ รามกันด์มูลมักถูกโฆษณาว่ามีบทบาทสำคัญในวรรณคดีรามายณะ เนื่องจากเป็นแหล่งอาหารเดียวของพระรามตอนที่เขาถูกเนรเทศไปยังป่าพร้อมกับนางสีดาและพระลักษณ์ แถมพ่อค้ายังอ้างอีกว่ามันสามารถลดอุณหภูมิในร่างกายของคุณได้ในช่วงฤดูร้อน อีกทั้งยังช่วยดับความหิวกระหาย และยังมีมีสรรพคุณเป็นยาครอบจักรวาลอีกด้วย (โอ้ ขนาดนั้นเชียวหรอ?)

 

Sponsored Ad

 

    ปกติแล้วคนอินเดียจะเสิร์ฟพร้อมเครื่องปรุงหลายอย่างตั้งแต่ เกลือ พริก มะนาว และน้ำตาลพร้อมกับ รามกันด์มูล สิ่งสำคัญคือ มันจะถูกหั่นออกมาเป็นแผ่นบาง ๆ เท่านั้น โดยทั่วไปแล้วจะมีขนาดน้ำหนักมากถึง 300 กิโลกรัม เมื่อ รามกันด์มูล ถูกนำเสนอผ่านสื่อก็ทำให้ผู้คนต่างพากันให้ความผู้สนใจเป็นอย่างมาก และอยากรู้ที่มาของมันมากยิ่งขึ้น จนกระทั่งในปี 1994 ดร.คอปปูลา เฮมาดรี นักพฤกศาสตร์ได้เริ่มออกเดินทางไปทั่วอินเดียเพื่อขุดรากพืชชนิดต่าง ๆ เพื่อพยายามไขปริศนานี้ การค้นคว้าของเขาสรุปออกมาว่ามันคือพืชสกุล “อากาเว” (Agave) แต่ตัวเขาเองก็ยอมรับว่ามันอาจไม่ใช่คำตอบที่ถูกต้อง

 

Sponsored Ad

 

    ในช่วงเวลาเดียวกัน ดร.อาลี มูลาลี นักพฤกศาสตร์อีกคนเลือกที่จะใช้วิธีที่ประหยัดเวลากว่า เขาพยายามจ่ายเงินให้กับพ่อค้ารามกันด์มูลราว 1,000 ถึง 2,000 รูปี (ประมาณ 450-900 บาท) เพื่อให้เปิดเผยที่มาของขนมชนิดนี้ พ่อค้าลังเลใจอยู่สักครู่ แล้วก็ตัดสินใจบอกว่า มันทำมาจาก Kitta Nara ซึ่งเป็นชื่อที่ถูกใช้เรียกเส้นใยของพืชสกุลอากาเว ที่น่าสนใจก็คือ เขาเสริมว่ามันไม่ใช่ราก แต่เป็นบางสิ่งที่เติบโตเหนือพื้นดิน

 

Sponsored Ad

 

    ในปี 2010 ทีมนักวิทยาศาสตร์ตัดสินใจทำการทดสอบ DNA ของมันและก็พบว่ามันมี DNA ที่ตรงกับอากาเวถึง 89 เปอร์เซ็นต์ ดูเหมือนว่ามาถึงตอนนี้หลักฐานทุกอย่างจะชี้ไปที่อากาเว และนั่นเป็นเหตุผลที่พ่อค้าต้องฝานมันเป็นชิ้นบาง ๆ เนื่องจากในอากาเวมีสารแอลคาลอยด์จำนวนมาก และจะเป็นพิษต่อร่างกายหากรับประทานในปริมาณที่มากเกินไป

    ต่อมาในปี 2011 มีการระบุสายพันธุ์ของอกาเวให้แคบลงไปอีกว่ามันคือ Agave Sisalana ซึ่งเป็นหนึ่งในหลากหลายสายพันธุ์ของอากาเว เมื่อทำการตัดใบออกก็จะเหลือเพียงแค่ลำต้นขนาดใหญ่คล้ายกับที่พ่อค้านำมาขายตามท้องถนน แต่นั่นยังไม่ใช่บทสรุปของเรื่องนี้ เนื่องจากอากาเวมีหลายสายพันธุ์ นักวิทยาศาสตร์ยังคงถกเถียงกันไม่จบว่ามันคือสายพันธุ์ไหนกันแน่ อาจจเป็น Agave Sisalana หรือ Agave Americana หรืออาจเป็นสายพันธุ์จากต่างประเทศก็เป็นได้

 

Sponsored Ad

 

    หัวหน้าทีมวิจัยกล่าว “ณ ตอนนี้เราไม่สามารถสรุปได้ จนกว่าผู้ขายจะนำพืชมาให้เราดู พวกเขาเก็บเรื่องนี้ไว้เป็นความลับทางธุรกิจเพื่อสร้างความอยากรู้อยากเห็นเกี่ยวกับเรื่องนี้” แต่ไม่ใช่นักวิทยาศาสตร์ทุกคนจะเห็นด้วยกับเรื่องนี้ ตัวอย่างเช่น ดร.เชนนา ซางกาติ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ด้านโภชนาการและเทคโนโลยีจากเบงกาลูรู ที่ศึกษาต้นอากาเวมาอย่างมากมายมั่นใจว่า รามกันด์มูลไม่ได้ทำมาจากอากาเว เขาอ้างว่าอกาเวจะมีความหวาน ฝาด มีเส้นใย และกัดยาก ในขณะที่รามกันด์มูลจะให้ความรู้สึกที่นุ่มนวล กัดง่าย และไม่หวานมาก ซึ่งมันแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง

Sponsored Ad

    ขนาดวิกิพีเดียก็ยังให้คำอธิบายว่า รามกันด์มูลถูกทำมาจากรากของต้น Maerua oblongifolia ซึ่งเป็นไม้พุ่มเตี้ยชนิดหนึ่ง โดยระบุว่า “รากถูกนำไปที่ร้านค้าอย่างเป็นความลับ โดยที่มาของมันก็จะถูกเก็บไว้เป็นความลับเช่นกัน” ทั้งนี้ วิกิพีเดียเองก็ไม่มีรูปต้นไม้ต้นนี้ให้ดูอีกด้วย ซึ่งไม่มีข้อสรุปได้อย่างจริงแท้แน่นอน

    จนถึงปัจจุบันก็ยังไม่มีใครยอมบอกความจริงเรื่องนี้ ถ้ามีคนไปถามพ่อค้าว่า รามกันด์มูล มีต้นกำเนิดมาจากอะไร คุณอาจโดนหงุดหงุดใส่ก็ได้ และถ้าเจอพ่อค้าที่ไม่รู้จริงๆ ก็อาจตอบคำถามแบบมั่วๆ เพื่อให้คุณเกิดความสบสนเล่นก็เป็นได้ 

    ดังนั้น หากใครเคยไปอินเดียแล้วมีโอกาสไปชิม รามกันด์มูล  ก็อย่าลืมมาบอกกันบ้างนะว่า อร่อยไหม รสชาติเป็นอย่างไรบ้าง? ตอนนี้ลองไปดูคลิปการทำรามกันด์มูล  กันเลยดีกว่านะคะ

ชมคลิป

คลิปเปิดไม่ออก >>> กดตรงนี้ คลิก <<<

ที่มา: odditycentral, ภาพ Subramanian Subramanian